อุปกรณ์สำคัญ เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน ควรมีอะไรบ้าง?

 


การดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความอดทนและการดูแลเอาใจใส่ ผู้เฝ้าดูแลจะต้องมีพร้อมทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยนอก ปัจภายใน คือ ความพยายาม การมีเวลา มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยในระดับหนึ่ง และปัจจัยภายนอก คือ การมีอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างครบครันและมีทักษะการใช้อุปกรณ์เหล่านี้กับผู้ป่วยเป็นอย่างดี เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย

วันนี้ Myluck Nursing Home ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ขอแนะนำอุปกรณ์สำคัญ ที่ใช้สำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน และหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อท่านที่กำลังจะต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงอยู่

1. เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าถือว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้คุณตัดสินใจได้ไม่ยากเลยว่าจะต้องมีหรือไม่ หากเราจะดูแลผู้ป่วยเองที่บ้าน คำตอบคือ ต้องมี!! เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ และผู้พักฟื้นหลังผ่าตัด สามารถปรับระดับได้อย่างอิสระตามความต้องการ เช่น ปรับให้นั่ง,ปรับให้นอน,ปรับให้พักเอนหลัง การปรับระดับเตียงจะช่วยให้ผู้ป่วยสบายตัวมากขึ้น ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ เตียงผู้ป่วยไฟฟ้ายังช่วยลดภาระผู้ดูแล เพราะผู้ดูแลไม่จำเป็นต้องออกแรงยกผู้ป่วยเองเพียงใช้รีโมทคอนโทรลตามต้องการได้เลย

2. โต๊ะคร่อมเตียง

โต๊ะคร่อมเตียง เป็นอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่สำคัญอีก 1 อย่าง ผู้ป่วยติดเตียงจะมีการเคลื่องไหวร่างกายได้อย่างจำกัด โต๊ะคร่อมเตียงจึงจะเข้ามาช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล ช่วยอำนวยความสะดวกสบายและปลอดภัย โต๊ะคร่อมเตียงผู้ป่วยจึงเป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม

3. อุปกรณ์ตรวจสภาพร่างกาย

อุปกรณ์ตรวจสภาพร่างกาย จะช่วยในเรื่องของการติดตามและควบคุมสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด โดยไม่ต้องเข้าไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์บ่อยๆ ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หรือภาวะติดเชื้อ นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลไม่ต้องเดินทางบ่อย หรือเรื่องการจ่ายค่าใช้จ่ายเมื่อต้องไปพบแพทย์ และยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในการติดตามอาการผู้ป่วยได้อย่างทันเหตุการณ์

4. ที่นอนป้องกันแผลกดทับ

ผู้ป่วยติดเตียง เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลกดทับ ส่งผลให้สุขภาพแย่ลงจนไปถึงอาการรุนแรงได้ บริเวณร่างกายที่พบแผลกดทับได้บ่อย คือ ก้น, สะโพก,สะบัก, ส้นเท้า ซึ่งที่นอนป้องกันแผลกดทับมีคุณสมบัติพิเศษในการกระจายน้ำหนักตัว ลดแรงกดทับบริเวณที่เสี่ยง ช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของแผลกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

5. ผ้ารองกันเปื้อน

เรื่องความสะอาดและสุขอนามัย สำคัญมากกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งข้อดีของผ้ารองกันเปื้อน คือ ช่วยป้องกันที่นอนและผ้าปูเตียงเปื้อน, ช่วยดูซับของเหลวได้อย่างรวดเร็ว, ช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์, เก็บทำความสะอาดง่าย, เพิ่มความสบายให้กับผู้ป่วยและผู้ดูแล, และช่วยป้องกันการลื่นไถล ผู้ดูแลควรเลือกผ้ารองกันเปื้อนให้เหมาะกับขนาดเตียงของผู้ป่วย และหมั่นตรวจเช็คและเปลี่ยนให้กับผู้ป่วยบ่อยๆ ด้วย




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิว Bad Boys for Life กำเนิดใหม่ของคู่หูไมอามี่

ซิ ลิ โคน เสริม หน้าอก ยี่ห้อไหนดี

ข้อดีของการใช้แบบหล่อท่อกระดาษ ในงานก่อสร้าง จากบริษัทสิงห์ชัย อุตสาหกรรม จำกัด