โภชนบำบัดทางการแพทย์รักษาเบาหวาน

 


ปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานสามารถเลือกรับประทานอาหารต่างๆ ได้เช่นเดียวกับคนปกติ แต่จำเป็นต้องเรียนรู้ว่าจะรับประทานอาหารได้มากน้อยเพียงใดจึงจะไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง การรับประทานข้าวแต่น้อยหรือไม่รับประทานเลยแล้วไปเพิ่มอาหารอย่างอื่น เช่น ผลไม้เนื้อสัตว์ ในปริมาณมากๆ ไม่ใช่วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องทั้งยังอาจทำให้ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูงอีกด้วย

วิธีการทานอาหารที่ถูกต้อง สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารหลากหลายชนิดเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนที่ร่างกายต้องการ โดยเลือกรับประทานอาหารตามกลุ่มต่างๆ ดังนี้ อาหาร ผู้ ป่วย เบาหวาน

กลุ่มที่ 1 คาร์โบไฮเดรต เป็นกลุ่มที่มีผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดโดยตรง คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคาร์โบไฮเดรต มีเฉพาะในอาหารกลุ่มข้าวและแป้ง แต่ที่แท้จริงคาร์โบไฮเดรตยังซ่อนอยู่ในอาหารพวก ผลไม้ นม ผักประเภทหัว น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง

อาหารจำพวก ข้าว ก๋วยเตี๋ยวขนมปัง เผือกมัน ถั่วเมล็ดแห้ง 1 ส่วนประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม โปรตีน 3 กรัม ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรีนั่นคือ

ข้าวสุก ½ ถ้วยตวง (ประมาณ 1 ทัพพีเล็กในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า)

ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่, เส้นเล็ก ½ ถ้วยตวง (ประมาณ 1 ทัพพีเล็ก)

ถั่วเขียว, ถั่วดำ, ถั่วแดงสุก ½ ถ้วยตวง

ข้าวต้ม ¾ ถ้วยตวง (2 ทัพพีเล็ก), วุ้นเส้นสุก ½ ถ้วยตวง

ขนมจีน 1 จับ, บะหมี่ ½ ก้อน

ขนมปังปอนด์ 1 แผ่น, มันฝรั่ง 1 หัวกลาง

ข้าวโพด 1 ฝัก ( 5 นิ้ว ), แครกเกอร์สี่เหลี่ยม 3 แผ่น

ผู้ป่วยโรคเบาหวานรับประทานอาหารในกลุ่มนี้ได้เช่นเดียวกับคนปกติไม่จำเป็นต้องงดหรือจำกัดมากเกินไป เพราะข้าวเป็นแหล่งของพลังงานที่ร่างกายต้องการใช้เพื่อการทำกิจกรรมต่างๆ ส่วนจะรับประทานได้เท่าไรนั้น ขึ้นกับอายุ น้ำหนักตัวและกิจกรรมหรือแรงงานที่ผู้ป่วยทำ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลือกรับประทานข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ธัญพืชที่ผ่านกระบวนการขัดสีน้อยหรือขนมปังที่ทำจากแป้งที่ไม่ขัดสี เพื่อจะได้ใยอาหารเพิ่มขึ้นควรพยายามหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ขนมหวานทั้งแบบไทยและแบบฝรั่ง

กลุ่มที่ 2 ผักชนิดต่างๆ 1 ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 2 กรัม ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี

แครอต, ฟักทอง, ข้าวโพดอ่อน ½ ถ้วยตวง

ผักคะน้า, บรอกโคลี ½ ถ้วยตวง

ถั่วแขก, ถั่วลันเตา, ถั่วฝักยาว ½ ถ้วยตวง

น้ำมะเขือเทศ, น้ำแครอต ½ ถ้วยตวง

          อาหารกลุ่มนี้มีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารสูง ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานให้มากขึ้นในทุกมื้ออาหาร โดยเฉพาะผักใบสีเขียวสดหรือสุกรับประทานได้ตามต้องการ ถ้านำผักมาคั้นเป็นน้ำ ควรรับประทาน กากด้วยเพื่อจะได้ใยอาหาร จะช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลและไขมันในอาหารทำให้ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดลดลง ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานผักวันละ 2-3 ถ้วยตวง ทั้งผักสดและผักสุกเพื่อให้ได้ใยอาหาร 15 กรัมต่อวัน

กลุ่มที่ 3 กลุ่มผลไม้ 1 ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี

กล้วยน้ำว้า 1 ผล, ฝรั่ง ½ ผลใหญ่, ส้ม 1 ผล (2 ½ นิ้ว)

กล้วยหอม ½ ผล, แอปเปิล 1 ผลเล็ก, ชมพู่ 2 ผล

มะม่วงอกร่อง ½ ผล, เงาะ 4-5 ผล, ลองกอง 10 ผล

มะละกอสุก 8 ชิ้นขนาดคำ, แตงโม 10 ชิ้นขนาดคำ

น้ำผลไม้ 1/3 ถ้วยตวง

         ผลไม้ทุกชนิดมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ถึงแม้จะมีใยอาหารแต่หากรับประทานมากกว่าปริมาณที่กำหนด จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลือกรับประทานผลไม้ 1 ชนิดต่อมื้อ วันละ 2-3 ครั้งหลังอาหาร ควรหลีกเลี่ยงผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน ละมุด หรือ ผลไม้ตากแห้ง ผลไม้กวนผลไม้เชื่อม ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กระป๋อง การรับประทานผลไม้ครั้งละมากๆ แม้จะเป็นผลไม้ที่ไม่หวานก็ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิว Bad Boys for Life กำเนิดใหม่ของคู่หูไมอามี่

ซิ ลิ โคน เสริม หน้าอก ยี่ห้อไหนดี

ข้อดีของการใช้แบบหล่อท่อกระดาษ ในงานก่อสร้าง จากบริษัทสิงห์ชัย อุตสาหกรรม จำกัด