เปลือกมังคุดเป็นยา สัตวแพทย์จุฬาฯ จำลองสารเลียนแบบได้สำเร็จ! รักษาการอักเสบในลำไส้สัตว์และคน

 


สัตวแพทย์ จุฬาฯ วิเคราะห์และจำลอง “ไฮดรอกซี่แซนโทน” พัฒนาเลียนแบบสารสำคัญจากเปลือกมังคุด ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ กำจัดเชื้อโรคและยับยั้งการอักเสบเยื่อบุลำไส้ เล็งต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสัตว์และคนในอนาคต


“มังคุด” ราชินีแห่งผลไม้ไทย นอกจากจะมีรสชาติอร่อยและดีต่อสุขภาพแล้ว “เปลือกมังคุด” ยังอุดมด้วยสารมากคุณประโยชน์ นับแต่อดีต ภูมิปัญญาชาวบ้านใช้เปลือกมังคุดรักษาอาการท้องเสีย การติดเชื้อบริเวณผิวหนังและรักษาบาดแผลในสัตว์ และปัจจุบันก็มีการประยุกต์เอาสารสกัดเปลือกมังคุดมาผลิตยาและผลิตภัณฑ์ต่างๆ สำหรับมนุษย์ เช่น พลาสเตอร์ยา เจลหรือหน้ากากที่ป้องกันเชื้อ เป็นต้น green chiretta

แต่เปลือกมังคุดมีดีมากกว่านั้นอีก ล่าสุด รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.สุทธาสินี ปุญญโชติ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสารที่จำลองและเลียนแบบโครงสร้างเคมีของสารสกัดจากเปลือกมังคุด ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการรั่วซึมของลำไส้ ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพดี และลดการใช้ยาทั้งในคนและสัตว์ได้ท้ายที่สุด  


Xanthones สารธรรมชาติมากคุณประโยชน์จากเปลือกมังคุด

จากการวิจัยเปลือกมังคุดที่ไม่ใช้แล้ว รศ.สพ.ญ.ดร.สุทธาสินี พบสารสำคัญ “แซนโทน” (Xanthones) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอล มีคุณสมบัติในการต่อต้านหรือยับยั้งการอักเสบต่างๆ ในระดับที่ดีหลายประการ อาทิ ต้านเซลล์มะเร็ง (anti-cancer) ต้านเชื้อแบคทีเรีย (anti-bacterial) ต้านอาการภูมิแพ้ (anti-allergy) ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory) ต้านการเจริญของจุลินทรีย์ (anti-microbial) ต้านเชื้อมาลาเรีย (anti-malarial) และต้านการออกซิเดชัน (anti-oxidant) เป็นต้น

ด้วยสรรพคุณต้านการอักเสบและทำลายเชื้อโรคของสารแซนโทน รศ.สพ.ญ.ดร.สุทธาสินี ริเริ่มโครงการวิจัยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อพัฒนาสังเคราะห์สารแซนโทนให้อยู่ในรูปของ “ไฮดรอกซี่แซนโทน” (Hydroxy Xanthones; HDX) เพื่อมีฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลสุขภาพของสัตว์และคน

 “การสกัดสารจากเปลือกมังคุดจะทำให้ได้สารที่หลากหลายทั้งที่มีคุณและเป็นโทษ นอกจากนี้ ยังต้องผ่าน่ขั้นตอนหลายกระบวนการ รวมถึงไม่สามารถควบคุมคุณภาพของสารที่ได้จากเปลือกมังคุดด้วย เนื่องจากคุณภาพของสารในเปลือกมังคุดขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการปลูก ปุ๋ย สภาพอากาศ และการดูแลต่างๆ” รศ.สพ.ญ.ดร.สุทธาสินี เผยโจทย์อันเป็นที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้

“เราจึงเลือกวิธีการวิเคราะห์และเลียนแบบโครงสร้างทางเคมีของสารแซนโทน จากเปลือกมังคุดขึ้นมา ซึ่งจะทำให้เราได้สารสำคัญที่ต้องการเน้นๆ ง่ายต่อการนำไปใช้ได้โดยตรงเพื่อพัฒนาเป็นสารเสริมในยา อาหาร และผลิตภัณฑ์ต่างๆ และควบคุมประสิทธิภาพให้สมบูรณ์ที่สุดได้”





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิว Bad Boys for Life กำเนิดใหม่ของคู่หูไมอามี่

ซิ ลิ โคน เสริม หน้าอก ยี่ห้อไหนดี

ข้อดีของการใช้แบบหล่อท่อกระดาษ ในงานก่อสร้าง จากบริษัทสิงห์ชัย อุตสาหกรรม จำกัด