“แนวทางและเครื่องมือชีวิตสำหรับคนยุคใหม่” หลักสูตรล่าสุดจากจุฬาฯ เตรียมนิสิตพร้อมรับโลกพลิกผัน
ครั้งแรกในประเทศไทย “แนวทางและเครื่องมือชีวิตสำหรับคนยุคใหม่” หลักสูตรระดับโลกที่มหาวิทยาลัย Stanford รับรอง จุฬาฯ พร้อมเปิดสอนให้นิสิตพัฒนาทักษะการออกแบบชีวิต กรอบคิดการทำงานกับผู้อื่น สร้างอนาคตและสังคม
โลกปัจจุบันและอนาคตเปลี่ยนแปลงและพลิกผันรวดเร็ว การจะอยู่ในโลกเช่นนี้ให้ได้อย่างมีความสุขและสร้างประโยชน์ให้ส่วนรวม จำเป็นต้องมีทักษะชีวิต กรอบคิดและเครื่องมือที่สำคัญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้พัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถาบันระดับโลกต่างๆ และล่าสุดกำลังจะเปิดสอนวิชาการศึกษาทั่วไป “แนวทางและเครื่องมือชีวิตสำหรับคนยุคใหม่” เพื่อเตรียมนิสิตให้พร้อมสำหรับชีวิตในอนาคต international program in thailand
“วิชานี้เป็นเสมือนกุญแจที่จะช่วยเราตีความหมายและมองโลกอย่างที่เป็น อีกทั้งจะช่วยให้เราไม่หลงทางและดำเนินชีวิตท่ามกลางกระแสของความเปลี่ยนแปลงได้ นิสิตจะได้ออกแบบเส้นทางชีวิตของตัวเอง ผ่านการสำรวจความต้องการและความถนัด สร้างกรอบคิดที่จะช่วยให้พวกเขาทำงานกับคนรอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ” รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ กล่าว
หลักสูตรใหม่ที่จะเปิดสอนในเทอมสองของปีการศึกษา 2564 นี้ (เดือนมกราคม 2565) ได้ผ่านกระบวนการวิจัย ทดสอบ และรับรองโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) อีกทั้งยังได้ความร่วมมือจาก South East Asia Center (SEAC) องค์กรระดับสากลที่เน้นพัฒนาศักยภาพและภาวะผู้นำ
3 แนวทางและเครื่องมือสำคัญเพื่อการออกแบบชีวิต
วิชา “แนวทางและเครื่องมือชีวิตสำหรับคนยุคใหม่” ประกอบด้วยเครื่องมือหลัก 3 ประการ คือ
1. Design Your Life: ออกแบบชีวิตที่ต้องการและเปี่ยมความหมาย ด้วยหลักคิดเชิงการออกแบบ เรื่องนี้ จุฬาฯ ทำงานกับ Bill Burnett ผู้เขียนหนังสือ Designing Your Life และศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้ช่วยออกแบบหลักสูตรนี้ให้เข้ากับบริบทของคนไทย
“นิสิตจะได้ตรวจสอบและทดลองหาความหมายของชีวิตที่สมดุล และวิธีบริหารจัดการพลังในการทำสิ่งต่าง ๆ รวมถึงวิธีการทดลองต้นแบบ การใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำ” รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ ขยายความ
2. Outward Mindset: สร้างกรอบคิดที่พัฒนาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างและยกระดับคุณภาพชีวิต จุฬาฯ ร่วมมือกับสถาบันที่ปรึกษาระดับโลกอย่าง Arbinger Institute โดยเน้นเรื่องการเปลี่ยน Mindset ของคน ด้วยหลัก “แนวคิดขับเคลื่อนกิจกรรม พฤติกรรมขับเคลื่อนผลลัพธ์”
3. Self-Leadership:สร้างภาวะผู้นำแบบเชิงรุก ทักษะวิธีการตั้งและบรรลุเป้าหมายในแบบที่เหมาะกับแต่ละบุคคล เอาชนะความเชื่อที่จำกัดศักยภาพ รู้จักการตั้งเป้าหมาย และการประเมินระดับความสามารถของตนเพื่อแสวงหาการสนับสนุนเชิงรุก
“เราต้องเป็นผู้นำตนเองได้ ชัดเจนว่าเราต้องการมีชีวิตแบบไหนและมีทักษะในการทำให้วิสัยทัศน์เกิดขึ้นได้จริง ไม่เช่นนั้นผู้อื่นจะกำหนดเป้าหมายในชีวิตให้กับเรา”
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น