ความแตกต่างระหว่างยา PEP และ PrEP

ความแตกต่างระหว่างยา PEP และ PrEP

ยา PEP เป๊ป ย่อมาจาก post-exposture prophylaxis เป็นการนำยาต้านไวรัสมาจ่ายให้คนที่เพิ่งจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ให้กินภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็น ถุงยางอนามัยแตก ถูกข่มขืน พลาดไปมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าโดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัย หรือแม้แต่การถูกเข็มตำหรือของมีคมบาดในสถานพยาบาล เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ HIV โดยจะต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอไปเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์หลังจากมีความเสี่ยง

ยา PEP ประกอบด้วยยาชนิดไหนบ้าง

PEP ประกอบด้วยยาต้านไวรัส 3 ชนิดโดยแพทย์จะเป็นผู้เลือกชนิดให้เป็นรายบุคคลไป ดังนี้

  • Nevirapine ( NVP ) 200 mg
  • Lamivudine ( 3TC ) 150 mg
  • Stavudine ( d4T ) 30 mg

จำเป็นต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาปรับเปลี่ยนสูตรยา PEP ตามความเหมาะสม ในบางรายแพทย์อาจให้ ยา GPO vir Z250mg เพียงตัวเอง ซึ่งในยานี้มีชนิดยาทั้ง 3 ชนิดผสมอยู่ด้วยแล้ว


สาเหตุที่ต้องรับยา PEP

PEP เป็นยาต้านฉุกเฉินในกรณีการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันและควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น

  • ป้องกันแล้วแต่ถุงยางอนามัยเกิดหลุด ถุงแตก
  • ไม่ได้สติขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดจากฤทธิ์แอลกอฮอล์หรือฤทธิ์ยาบางชนิด
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรืออุบัติเหตุจากการโดนเข็มฉีดยาตำ

การรับยา PEP จะช่วยยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานยาให้เร็วที่สุด

ใครบ้างที่ควรได้รับยาเป็ป ( PEP )

ผู้ที่จะทานยา PEP ต้องเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อแบบกะทันหัน

  • คนที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศมา
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่อาจจะมีเชื้อเอชไอแล้วถุงยางอนามัยหลุดหรือฉีกขาด

เรียกว่ามีไว้สำหรับผู้ที่คาดว่ามีการสัมผัสเชื้อเอชไอวี แบบไม่ตั้งใจ จำเป็นต้องกินยาให้เร็วที่สุดภายหลังการสัมผัสเชื้อจากภาวะเสี่ยงต่างๆ


จะรับยา PEP มีขั้นตอนอย่างไร

หากรู้ตัวหรือสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะรับเชื้อ HIV มา หลายคนมักไม่กล้าและไม่รู้ว่าจะสามารถ รับยา pep ได้ที่ไหน ให้ทำตามขั้นดังนี้ค่ะ

  1. ขั้นตอนแรกต้องเข้ามารับคำปรึกษาประเมินความเสี่ยงโดยแพทย์ก่อน
  2. หลังจากนั้นหากแพทย์ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสมควรได้รับยา PEP จริง จะต้องมีการเจาะเลือดคนไข้เพื่อตรวจว่าไม่ได้ติดเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว รวมถึงตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และสุขภาพโดยรวม ค่าไตค่าตับของคนไข้ด้วย ว่าพร้อมจะกินยาหรือไม่
  3. เข้าพบแพทย์ เพื่อเลือกตัวยาที่เหมาะสม
  4. รับยากลับบ้าน

ลองติดต่อสอบถามกับทาง Bangkok Safe Clininc ได้ที่ช่องทางติดต่อ เพื่อขอปรึกษาแพทย์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิว Bad Boys for Life กำเนิดใหม่ของคู่หูไมอามี่

ซิ ลิ โคน เสริม หน้าอก ยี่ห้อไหนดี

ข้อดีของการใช้แบบหล่อท่อกระดาษ ในงานก่อสร้าง จากบริษัทสิงห์ชัย อุตสาหกรรม จำกัด