การตรวจค่า FPG บ่งบอกโรคเบาหวาน

 การวินิจฉัยโรคเบาหวานและภาวะเสี่ยงต่อเบาหวานนั้น นอกจากสังเกตสัญญาณและอาการต่างๆ ที่บ่งชี้ของโรคแล้ว สิ่งสำคัญคือ การตรวจ FPG (Fasting plasma Glucose) หรือการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสม่าขณะอดอาหาร ซึ่งสามารถตรวจหลังงดอาหารเป็นเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน 


ปริมาณน้ำตาลในเลือดที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่

วิธีการตรวจคัดกรองเบาหวาน คือการตรวจระดับ FPG (Fasting plasma Glucose) ≥ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้ตรวจยืนยันซ้ำด้วย FPG อีกครั้งหนึ่งในวันหรือสัปดาห์ถัดไป ถ้าพบ FPG ≥ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน 

กรณีที่ FPG มีค่า 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้วินิจฉัยว่าเป็นภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ (Impaired fasting glucose)  ควรได้รับคำแนะนำให้ป้องกันการเกิดเบาหวานโดยการคุมอาหารและออกกำลังกาย ติดตามวัดระดับ FPG ทุก 1-3 ปี ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงที่มีในร่างกายอีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานที่ควรได้รับการตรวจคัดกรอง

  • ผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป
  • อ้วน มีพ่อแม่ หรือพี่น้องที่เป็นโรคเบาหวาน
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์ ≥ 250 มก/ดล หรือ HDL cholesterol < 35มก/ดล)
  • มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
  • เคยได้รับการตรวจพบว่าเป็น impaired fasting glucose หรือ impaired glucose tolerance test
  • มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • มีกลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome)


การวินิจฉัยโรคเบาหวานและภาวะเสี่ยงต่อเบาหวานนั้น นอกจากสังเกตสัญญาณและอาการต่างๆ ที่บ่งชี้ของโรคแล้ว สิ่งสำคัญคือ การตรวจ FPG (Fasting plasma Glucose) หรือการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสม่าขณะอดอาหาร ซึ่งสามารถตรวจหลังงดอาหารเป็นเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน 


ปริมาณน้ำตาลในเลือดที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่

วิธีการตรวจคัดกรองเบาหวาน คือการตรวจระดับ FPG (Fasting plasma Glucose) ≥ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้ตรวจยืนยันซ้ำด้วย FPG อีกครั้งหนึ่งในวันหรือสัปดาห์ถัดไป ถ้าพบ FPG ≥ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน 

กรณีที่ FPG มีค่า 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้วินิจฉัยว่าเป็นภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ (Impaired fasting glucose)  ควรได้รับคำแนะนำให้ป้องกันการเกิดเบาหวานโดยการคุมอาหารและออกกำลังกาย ติดตามวัดระดับ FPG ทุก 1-3 ปี ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงที่มีในร่างกายอีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานที่ควรได้รับการตรวจคัดกรอง

  • ผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป
  • อ้วน มีพ่อแม่ หรือพี่น้องที่เป็นโรคเบาหวาน
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์ ≥ 250 มก/ดล หรือ HDL cholesterol < 35มก/ดล)
  • มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
  • เคยได้รับการตรวจพบว่าเป็น impaired fasting glucose หรือ impaired glucose tolerance test
  • มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • มีกลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome)


https://www.glucerna.co.th/diabetes/knowledge/Diabetes-during-pregnancy

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิว Bad Boys for Life กำเนิดใหม่ของคู่หูไมอามี่

ซิ ลิ โคน เสริม หน้าอก ยี่ห้อไหนดี

ข้อดีของการใช้แบบหล่อท่อกระดาษ ในงานก่อสร้าง จากบริษัทสิงห์ชัย อุตสาหกรรม จำกัด