ยานอนหลับ ให้ผลเสียมากกว่าผลดี ควรต้องรู้
อาการนอนไม่หลับ เป็นปัญหาใหญ่ที่พบเจอได้บ่อยครั้งในสังคมสมัยนี้ของใครหลายๆคน จนส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต พร้อมหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการนี้ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมส่วนตัว หน้าที่การงาน สภาพแวดล้อมรอบข้าง อุปสรรคปัญหาในชีวิต วิกฤติที่ต้องฝ่าฟัน ก่อให้เกิดความเครียด ความกังวล เรื่องต่างๆที่มีในหัวมากมายเกินจะปล่อยวาง กลายเป็นปัญหานอนหลับยาก บางคนใช้เวลาหลายสิบนาที บางคนใช้เวลาเกือบชั่วโมง กว่าจะหลับได้ก็ใช้เวลานานจนลามไปถึงนอนไม่หลับเลย กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ต้องแก้ไข แต่อาจจะแก้ไขผิดวิธี โดยการต้องพึ่งยานอนหลับบ่อยๆ ซึ่งถือว่าเป็นอาการที่ไม่ดีนัก ค่อนข้างส่งผลเสียให้ร่างกายมากกว่าหากใช้เป็นเวลานาน งั้นเรามาดูกันว่า การใช้ยานอนหลับจะมีผลตามมาอย่างไรได้บ้าง ผลข้างเคียง ยานอนหลับ
ระวังการทานยานอนหลับ
การทานยานอนหลับว่ากันว่า ถ้าให้พูดถึงผลดีคงมีไม่เท่าผลเสีย และคิดว่าผลเสียนั้นมีมากกว่าผลดีแน่ๆ ถึงแม้จะช่วยให้บางคนพึงพอใจกับการนอนหลับได้อย่างง่ายดาย แต่หากผู้ใช้พึ่งยามากเกินลิมิตของร่างกายหรือใช้ยาในระยะยาวนั้นจะไม่เป็นผลดีกับร่างกายและมันอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย การใช้ยาจึงควรใช้เพียงชั่วคราวหรือระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น นอกจากนี้แล้วสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่นโรคปอด หรือผู้ที่มีอาการนอนกรนอย่างมาก และ ผู้ที่ใช้ยาประเภทกดประสาทส่วนกลาง เนื่องจากยานอนหลับ บางชนิดจะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางซึ่งเป็นสาเหตุให้ศูนย์ควบคุมการหายใจถูกกดไปด้วย เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ร่างกายหยุดหายใจได้ ผลข้างเคียง ยานอนหลับ
ยานอนหลับออกฤทธิ์กี่ชั่วโมง
ก่อนอื่นเลย ถ้าถามว่ายานอนหลับออกฤทธิ์กี่ชั่วโมง เราต้องมาดูว่า เราทานยายี่ห้อไหน ประเภทอะไรหรือทานกี่มิลลิกรัม ส่วนใหญ่มักเริ่มออกฤทธิ์หลังจากรับประทานไปประมาณ 15-20 นาที และจะทำให้ร่างกายหลับสนิทและหลับลึกได้ประมาณ 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ควรมีการนอนหลับที่ดีร่วมด้วย จึงจะเป็นการพักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกเหนือจากนี้ร่างกายจะตอบสนองต่อยาได้อย่างรวดเร็วสำหรับผู้ที่พึ่งเริ่มรับประทานในช่วงแรกๆ แต่สำหรับผู้ที่เคยรับประทานยาบ่อยๆนั้น ร่างกายจะตอบสนองตามความเคยชินหรือเวลาที่เคยรับประทานนั่นเอง
การกินยานอนหลับเกินขนาด
ยานอนหลับนั้นมีฤทธิ์กล่อมประสาท ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงไปยังระบบประสาทในสมองส่วนกลาง นั่นคือการจดจำเวลาของการใช้ยาไปกระตุ้น จึงทำให้นอนหลับได้นั่นเอง ถ้าหากรับประทานยาเกินขนาดหรือปริมาณสูงจนเกินไป จะทำให้มีอาการนอนหลับหรือในบางคนอาจจะไม่หลับเลย จนต้องเพิ่มปริมาณยาเข้าไปอีก และเนื่องจากร่างกายดื้อ ยาแล้ว ร่างกายจึงต้องการพึ่งยามากขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงขั้นเสพติดยานอนหลับไม่สามารถหลับได้เองตามธรรมชาติ ในขณะเดียวกันหากใช้ในปริมาณที่น้อยจะทำให้ร่างกายคลายเครียด ผ่อนคลาย ร่างกายจะแอบสดชื่นขึ้น
ผลข้างเคียงของการทานยานอนหลับ
แม้ว่ายานอนหลับจะช่วยเรื่องการทำให้นอนหลับได้ง่าย แต่ผลข้างเคียงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็มักจะเกี่ยวข้องกับสมองโดยตรง โดยร่างกายที่ได้รับการกระตุ้นจากยานอนหลับอยู่บ่อยๆนั้น สมองจะสั่งการหน้าที่เปลี่ยนไป ทำให้เซื่องซึม สับสน ไม่มีสติ อ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน พูดไม่ชัด สมองเบลอ เดินโซเซ เคลื่อนไหวช้าผิดปกติ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ในผู้สูงวัย มีผลต่อเส้นเลือดใหญ่และอาจทำให้หัวใจวายได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น