การดูแลเมื่อตั้งครรภ์และมีภาวะเบาหวาน
ควรได้รับการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด ส่วนวิธีการควบคุมน้ำตาลที่สำคัญ ได้แก่ การควบคุมอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลอย่างเข้มงวด และสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่หากการควบคุมดังกล่าวไม่ได้ผลก็จำเป็นต้องใช้ยาอินซูลินฉีดเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล https://www.glucerna.co.th/diabetes/knowledge/Diabetes-during-pregnancy
ในการควบคุมอาหารนั้น สตรีตั้งครรภ์ควรลดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต โดยมีหลักการการควบคุมอาหาร ดังนี้
หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ มื้อเดี่ยวโดยควรแบ่งเป็น 3 มื้อหลัก สลับมื้ออาหารว่าง 3 มื้อ
รับประทานอาหารที่ให้พลังงาน จากกลุ่มโปรตีน ไขมัน หรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง เป็นต้น
เพิ่มอาหารจำพวกโปรตีน (เนื้อสัตว์) และผักให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักจำพวกใบเพราะมีใยอาหารและวิตามินมาก ส่วนนมนั้นควรรับประทานนมสดชนิดจืดและพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย ควรงดหรือหลีกเสี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด
ตรวจระหว่างฝากครรภ์ แพทย์อาจนัดตรวจครรภ์บ่อยกว่าปกติเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของทั้งมารดาและทารก รวมทั้งตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลเพื่อประเมินและปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสม
กรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาอินซูลิน ฉีดเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลอาจจำเป็นต้องรับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสม รวมทั้งแนะนำการฉีดยาอินซูลินด้วยตนเองอีกด้วย การใช้ยาดังกล่าวจะทำเฉพาะในรายที่ระดับน้ำตาลสูงมาก ไม่สามารถควบคุมด้วยอาหารได้เท่านั้น
เมื่อถึงระยะคลอด สตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่สามารถคลอดได้เองตามปกติ ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นที่รุนแรง ส่วนการผ่าท้องคลอด แพทย์จะทำในกรณีที่มีข้อบ่งชี้เท่านั้น ภายหลังคลอดส่วนใหญ่แล้วการดำเนินโรคของภาวะเบาหวานจะดีขึ้นเอง ไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเป็นพิเศษเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามสตรีที่มีภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานในอนาคตสูงกว่าสตรีที่ตั้งครรภ์ปกติจึงจำเป็นต้องดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ควบคุมอาหารและออกกำลังกายเป็นประจำ รวมทั้งควรตรวจหาการเกิดโรคเบาหวานอย่างสม่ำเสมอทุกปี
จะเห็นว่าภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ได้ แต่หากได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ก็จะสามารถช่วยป้องกันการลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่างๆ
ในการควบคุมอาหารนั้น สตรีตั้งครรภ์ควรลดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต โดยมีหลักการการควบคุมอาหาร ดังนี้
หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ มื้อเดี่ยวโดยควรแบ่งเป็น 3 มื้อหลัก สลับมื้ออาหารว่าง 3 มื้อ
รับประทานอาหารที่ให้พลังงาน จากกลุ่มโปรตีน ไขมัน หรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง เป็นต้น
เพิ่มอาหารจำพวกโปรตีน (เนื้อสัตว์) และผักให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักจำพวกใบเพราะมีใยอาหารและวิตามินมาก ส่วนนมนั้นควรรับประทานนมสดชนิดจืดและพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย ควรงดหรือหลีกเสี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด
ตรวจระหว่างฝากครรภ์ แพทย์อาจนัดตรวจครรภ์บ่อยกว่าปกติเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของทั้งมารดาและทารก รวมทั้งตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลเพื่อประเมินและปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสม
กรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาอินซูลิน ฉีดเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลอาจจำเป็นต้องรับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสม รวมทั้งแนะนำการฉีดยาอินซูลินด้วยตนเองอีกด้วย การใช้ยาดังกล่าวจะทำเฉพาะในรายที่ระดับน้ำตาลสูงมาก ไม่สามารถควบคุมด้วยอาหารได้เท่านั้น
เมื่อถึงระยะคลอด สตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่สามารถคลอดได้เองตามปกติ ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นที่รุนแรง ส่วนการผ่าท้องคลอด แพทย์จะทำในกรณีที่มีข้อบ่งชี้เท่านั้น ภายหลังคลอดส่วนใหญ่แล้วการดำเนินโรคของภาวะเบาหวานจะดีขึ้นเอง ไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเป็นพิเศษเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามสตรีที่มีภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานในอนาคตสูงกว่าสตรีที่ตั้งครรภ์ปกติจึงจำเป็นต้องดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ควบคุมอาหารและออกกำลังกายเป็นประจำ รวมทั้งควรตรวจหาการเกิดโรคเบาหวานอย่างสม่ำเสมอทุกปี
จะเห็นว่าภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ได้ แต่หากได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ก็จะสามารถช่วยป้องกันการลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่างๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น