5 นิสัยทำร้ายสุขภาพเท้า

5 นิสัยทำร้ายสุขภาพเท้า


สาวๆ โดยเฉพาะวัยทำงานมักจะบ่นปวดเท้ากันอยู่เป็นประจำว่า
  • วันนี้ฉันปวดเท้าจังเลยทำไงดี
  • อยากไปนวดเท้าจังแต่ก็ไม่ค่อยมีเวลาว่างเลยใช่ไหมละค่ะ
แต่คุณทราบหรือไม่คะว่าอะไรที่เป็นตัวการในการทำร้ายสุขภาพเท้าของคุณให้ต้องตกอยู่ในสภาพป่วยขาดใจแบบนี้ เชื่อว่าสาวๆ และคนรักสุขภาพจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะที่มีปัญหาเรื่องนี้
 
1. เดินเท้าเปล่าบนพื้นแข็ง
 
โดยธรรมชาติแล้ว เท้าของคนเราถูกออกแบบมาให้เดินบนพื้นที่เรียบและอ่อนนุ่มอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น พื้นดิน ขณะที่ย่ำย่างแต่ละก้าวลงไป พื้นที่มีลักษณะยืดหยุ่นหรือยวบได้จะยุบลงเป็นรอยเท้า ซึ่งซัพพอร์ตกับการลงน้ำหนักของเท้าอย่างเป็นธรรมชาติ ต่างจากพื้นแข็ง ๆ อย่างพื้นกระเบื้อง ซีเมนต์ หรือแม้แต่พื้นในบ้าน ที่แบนและกระด้างไม่ยืดหยุ่น การเดินเท้าเปล่าเพียง 5,000-10,000 ก้าวต่อวัน ก็มากพอที่จะทำให้คุณเกิดอาการปวดเท้าได้แล้ว เพราะความแข็งของพื้นทำให้น้ำหนักถ่ายเทลงไปอย่างผิดลักษณะ เกิดเป็นอาการปวดส้นเท้า ฝ่าเท้า หรือแม้กระทั่งปวดเข่าตามมาได้ รองเท้าแตะผู้หญิง
 
 
2. ใส่รองเท้าส้นแบนหรือรองเท้าแตะนิ่ม ๆ
 
เคยได้ยินแต่รองเท้าแตะพื้นบาง ๆ แข็ง ๆ จะเสี่ยงทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของเท้าได้ง่าย แต่รู้หรือไม่คะว่ารองเท้าส้นเตี้ยหรือรองเท้าแตะพื้นนิ่ม ๆ ใส่สบายก็มีผลเสียได้เช่นกัน เมื่อใส่ไปนาน ๆ เข้า ความสบายจะกลายเป็นความปวดเมื่อยจนอาจถึงขั้นอักเสบขึ้นมาแทน
 
เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ รองเท้าที่มีพื้นรองเท้านุ่มนิ่มทำให้แนวโน้มที่จะย่างเดินโดยมีลักษณะเท้าบิดเข้าด้านใน (Over Pronation) มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะการเดินที่ทำให้เท้านิ้วโป้งและบริเวณที่ไล่ลงมารับน้ำหนักมากกว่าส่วนอื่น ๆ การเดินลักษณะเช่นนี้จึงเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บมาก ไม่ว่าจะเป็นปวดส้นเท้า เอ็นส้นเท้าอักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบ ปวดแข้ง ปวดเข่า ลามไปจนถึงปวดเอวและหลังช่วงล่าง เพราะนั้นหากจะเลือกรองเท้าส้นแบนหรือไว้ใส่เดินให้สบายสักคู่ก็ต้องใส่ใจกับจุดนี้ด้วยนะคะ
 
 
3. เดินผิดวิธีจนน่องโต
 
น่องโต .. จริง ๆ แล้วอาการนี้น่าจะเกิดขึ้นกับคนที่ออกกำลังกายหนัก ๆ จนไขมันที่ขาหายไปและเห็นก้อนกล้ามเนื้อได้ชัดเจน แต่ที่จริงผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักตัวเกินก็ประสบปัญหาน่องโตได้เช่นเดียวกัน นั่นเป็นเพราะท่วงท่าการเดินที่ไม่ถูกลักษณะ ทำให้กล้ามเนื้อที่น่องทำงานหนักเกินไป ลองปรับเปลี่ยนการเดินดูใหม่ โดยแต่ละครั้งที่ขึ้นบันได แทนที่จะก้าวพรวด ๆ ให้ถึงด้านบนเร็ว ๆ ให้หยุดทุกขั้นที่ก้าว แล้วเหยียดขาให้น่องทั้งสองข้างตึงก่อนจะก้าวขึ้นขั้นต่อไป
 
 
4. แอคทีฟกับการออกกำลังกายมากเกินไป
 
การออกกำลังกายนั้นดีต่อสุขภาพอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ก็ต้องเป็นไปอย่างถูกวิธีด้วย การวิ่งอย่างเร็วโดยไม่ได้วอร์มจากการเดินช้า ๆ มาก่อน หรือการเพิ่มสปีดขึ้นอย่างกะทันหัน ก็จะทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บได้ นอกจากจะต้องให้ความสำคัญในการวอร์มอัพแล้ว ยังต้องเลือกรองเท้าที่เข้ารูปและซัพพอร์ตเท้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
 
 
5. ปล่อยเนื้อปล่อยตัวให้น้ำหนักเกิน .. แม้จะแค่นิดเดียวก็ตาม
 
จากการวิจัยพบว่า การที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ส่งผลต่อสุขภาพเท้าได้ไม่น้อย เพราะนั่นหมายความว่าเท้าทั้งสองข้างจะต้องแบกรับภาระมากกว่าเดิม น้ำหนักที่กดลงที่เท้าทั้งสองข้างก็มากขึ้นกว่าเดิมทำให้ปวดเท้าง่าย หากปล่อยทิ้งไว้นานเข้าก็นำไปสู่โรคเอ็นร้อยหวายอักเสบ หรือโรคข้อเสื่อมได้ทีเดียวค่ะ และหากผู้ที่มีน้ำหนักเกินต้องการจะออกกำลังกาย ก็ควรเลือกประเภทการออกกำลังที่ไม่ทำให้เกิดการกระทบกระแทก หรือเท้าต้องแบกรับน้ำหนักมากนัก อย่างเช่น การว่ายน้ำ แอโรบิคในน้ำ โยคะ เป็นต้น
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิว Bad Boys for Life กำเนิดใหม่ของคู่หูไมอามี่

ซิ ลิ โคน เสริม หน้าอก ยี่ห้อไหนดี

ข้อดีของการใช้แบบหล่อท่อกระดาษ ในงานก่อสร้าง จากบริษัทสิงห์ชัย อุตสาหกรรม จำกัด